คอมพิวเตอร์ “ควอนตัม” ขนาดจิ๋วแต่แจ๋วที่น่าจะใช้งานได้จริงในปี 2024

บริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ ควอนตัม อย่าง Google, IBM, Honeywell, IonQ และ Xanadu ได้เปิดเผยถึงความคืบหน้าเกี่ยวกับการพัฒนาคอมพิวเตอร์ควอนตัม โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะสามารถพัฒนาคอมพิวเตอร์ควอนตัมให้สามารถใช้งานได้จริงในเชิงพาณิชย์ภายในปี 2024 ซึ่งคอมพิวเตอร์ควอนตัมจะถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ที่จะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายทางด้านเทคโนโลยีให้กับองค์กรภาคเอกชนต่างๆ ได้ โดยมี Qubits ที่เป็นองค์ประกอบสำหรับการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลในคอมพิวเตอร์ควอนตัม โดยจะทำให้การจัดเก็บข้อมูลเปลี่ยนจาก 0 และ 1 ไปเป็น 00 01 10 และ 11 แทน ซึ่งถือได้ว่าเป็นการนำทฤษฎีฟิสิกส์ควอนตัมมาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาคอมพิวเตอร์ควอนตัม เพื่อแก้ไขขีดจำกัดของคอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบันนั่นเอง

คอมพิวเตอร์ ควอนตัม

บริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ ควอนตัม ได้ออกมาเปิดเผยว่าน่าจะใช้งานจริงได้ประมาณปี 2024

โดยมีการคาดการณ์ว่า Google จะสามารถพัฒนา Qubits ที่สามารถใช้งานได้จริงภายในปี 2023 จะสามารถพัฒนาได้ถึง 1,000 ชิ้นภายในปี 2030 ในขณะที่ปัจจุบัน Xanadu สามารถพัฒนา Qubits  ได้ 24 ชิ้น และคาดว่าจะมี Qubits เพิ่มขึ้นเป็น 40 ชิ้นสำหรับปี 2021 และยังได้คาดการณ์กันว่าการพัฒนา Qubits จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าทุกๆ 6-12 เดือน และนั่นจะทำให้คอมพิวเตอร์ควอนตัมเกิดได้เร็วยิ่งขึ้น เนื่องจากคอมพิวเตอร์ควอนตัมสามารถประมวลผลได้มากกว่าซุปเปอร์คอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องรวมกัน ดังนั้นการมี Qubits จำนวนมากก็ยิ่งพัฒนาคอมพิวเตอร์ควอนตัมได้มากขึ้นเช่นกัน

ทั้งนี้องค์กรภาคเอกชนหลายแห่งคาดหวังว่าคอมพิวเตอร์ควอนตัมจะเข้ามาช่วยในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับองค์กรได้ อย่างเช่น Airbus บริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้านการบินและอวกาศของยุโรป ที่คาดหวังว่าคอมพิวเตอร์ควอนตัมจะมาช่วยปรับปรุงระบบพลศาสตร์ของเครื่องบิน ที่จะส่งผลต่อการประหยัดเชื้อเพลิงในขณะที่กำลังจะบินขึ้น

คอมพิวเตอร์ ควอนตัม

อีกทั้งจะช่วยในการออกแบบปีกด้วยปัจจัยที่ซับซ้อนมากขึ้นที่คอมพิวเตอร์ในระบบปัจจุบันยังไม่สามารถคำนวณได้ นอกจากนี้ Honeywell    ได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่าคอมพิวเตอร์ควอนตัมจะช่วยให้ธุรกิจของลูกค้ามีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น เช่น นำมาใช้ในการออกแบบทางเคมีสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเลียม สามารถออกแบบระบบคลังสินค้าอัตโนมัติได้โดยที่ไม่ต้องใช้แรงงานมนุษย์ หรือการออกบบระบบการบินและอวกาศได้อีกเช่นกัน

โดยบริษัทเทคโนโลยีต่างๆ ได้ร่วมมือกันในการพัฒนา Qubits เพื่อให้คอมพิวเตอร์ควอนตัมเกิดขึ้นและสามารถใช้งานได้จริงบนโลก เพราะคอมพิวเตอร์ควอนตัม 1 เครื่อง ที่บรรจุหน่วยความจำ 50 Qubits จะสามารถประมวลผลได้เทียบเท่าหรือมากกว่าเครื่องซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ และในอนาคตบริษัทเทคโนโลยีในหลายๆ ประเทศพยายามที่จะพัฒนาให้คอมพิวเตอร์ควอนตัมให้มีขนาดเล็ก ราคาที่ไม่สูงจนเกินไป ที่ทำให้องค์กรภาคเอกชนสามารถลงทุนได้ สำหรับเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรต่อไปในอนาคต

หากคุณไม่อยากพลาดข่าวคอมพิวเตอร์ และAcer Nitro 5 หลุดสเปคล่าสุด Ryzen 7+RTX 3080 โผล่ที่เยอรมัน! อย่าลืมติดตามกันได้ที่ mambodocman.com