Serotonin ระบบปัญญาประดิษฐ์ที่เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยสมองของ NIH ผ่านโครงการ Advancing Innovative Neurotechnologies ซึ่งเป็นโครงการที่มีจุดมุ่งหมายในการปฎิวัติความเข้าใจเกี่ยวกับสมองของมนุษย์ ทั้งที่มีสุขภาพที่ดีและที่มีโรคประจำตัว
มาทำความรู้จักกับ Serotonin กันเถอะ
หลักการของSerotoninจะเป็นปัญญาประดิษฐ์ที่ใช้ตรวจจับระดับของสารเซโรโทนินที่อยู่ในสมองอย่างละเอียดแบบเรียลไทม์ในระหว่างการนอนหลับว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด รวมทั้งใช้ทดสอบประสิทธิภาพการออกฤทธิ์ของยาจิตเวชที่ได้รับการพัฒนาออกมาใช้ใหม่กับผู้ป่วยด้วย

นอกจากนี้Serotoninที่ได้รับการพัฒนาในครั้งนี้ จะเป็นเครื่องมือชิ้นใหม่ที่จะช่วยตรวจสอบการแพร่กระจายของสารเซโรโทนินในสมองที่ให้ผลลัพธ์ที่มีความเที่ยงตรงได้มากกว่าวิธีในปัจจุบันที่เป็นการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของการส่งสัญญาณเซโรโทนินในวงกว้างเท่านั้น แต่ Serotonin ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาใหม่เป็นการใช้เทคนิคทางพันธุวิศวกรรมชั้นสูง สำหรับการเปลี่ยนโปรตีนของแบคทีเรียรูปกาบหอยแครงที่สามารถจับสารอาหารและแปลงให้เป็นเซ็นเซอร์ที่มีความไวสูงและจะเรืองแสงเมื่อตรวจจับกับสารเซโรโทนินในสมอง
โดยนักวิจัยจะใช้อัลกอริธึมที่ออกมาใหม่ถึง 250,000 แบบ สำหรับการทดลองระบบปัญญาประดิษฐ์ Serotonin สำหรับตรวจวัดระดับเซโรโทนินในสมองที่มีปฏิกิริยากับสารสื่อประสาทและยาทางจิตเวชที่ใช้ โดยในการทดลองพบว่า Serotonin สามารถตอบสนองต่อสัญญาณของสารเซโรโทนินที่เดินทางระหว่างเซลล์ประสาทจุดที่มีสารซินแนปติก และเมื่อทำการทดลองเกี่ยงกับเซลล์ใน Petri จะพบว่า Serotonin สามารถตรวจพบสัญญาณที่เปลี่ยนแปลงจากการได้รับยาแก้โรคซึมเศร้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการตรวจพบสาร MDMA ที่มีในโคเคนด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์ยังได้นำระบบปัญญาประดิษฐ์ Serotonin ไปทดสอบกับหนู เพื่อพิสูจน์ได้ว่าสารเซโรโทนินนั้นสามารถแสดงสภาพทางธรรมชาติของสิ่งมีชิวิตได้ โดยจะใช้ความสัมพันธ์ของระดับของเซโรโทรนินกับสภาพโดยทั่วไปของสิ่งมีชีวิต เช่น การนอนหลับ การตื่นนอน เป็นต้น ตลอดจนได้นำไปทดลองเกี่ยวกับระดับความกลัวของสิ่งมีชิวิตที่จะมีผลต่อสารเซโรโทนินในสมองได้ ซึ่งผลการทดสอบที่ได้จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถคิดค้นและพัฒนายารักษาโรคที่เกิดขึ้นทางจิตเวชและอาการนอนไม่หลับได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
หากคุณไม่อยากพลาดข่าวคอมพิวเตอร์ และทราบหรือไม่…? 5 ความเชื่อที่คนส่วนใหญ่มักเข้าผิดเกี่ยวกับ สมาร์ทโฟน อย่าลืมติดตามกันได้ที่ mambodocman.com