ทีมนักวิจัยที่ทำงาน Offshore Robotics for the Certification of Assets (ORCA) Hub ซึ่งเป็นกลุ่มที่นำโดยมหาวิทยาลัย Heriot-Watt และ Edinburgh สามารถพัฒนาระบบ MIRIAM – Multimodal Intelligent Interaction for Autonomous systems ซึ่งเป็นระบบสำหรับการโต้ตอบระหว่างนักวิจัยและหุ่นยนต์ที่ใช้ทำงานวิจัยร่วมกันได้แบบเรียลไทม์ โดยMIRIAM จะใช้ภาษาที่เป็นธรรมชาติเช่นเดียวกับมนุษย์ ที่จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถพูดหรือค้นหาข้อความ และได้รับคำอธิบายที่ชัดเจนจากหุ่นยนต์ที่ทำงานร่วมกันได้ โดยในเบื้องต้นทีมนักวิจัยได้กล่าวว่าอาจจะนำมาใช้งานในอุตสาหกรรมพลังงานใต้น้ำและบนบก
เทคโนโลยีใหม่ MIRIAM
MIRAMจะช่วยปรับปรุงวิธีที่หุ่นยนต์ใช้สื่อสารและสร้างความมั่นใจให้กับผู้ที่ทำงานร่วมกับหุ่นยนต์ ลักษณะการทำงานของMIRIAM จะคล้ายกับ Amazon Alexa ซึ่งบริษัท Total ยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานในสหราชอาณาจักรได้ลงทุนเป็นจำนวนมากสำหรับการวิจัยในครั้งนี้ และคาดหวังว่าจะได้เห็นเทคโนโลยีของMIRIAM เป็นครั้งแรกที่โรงงานผลิตก๊าซ Shetland ของบริษัทนั่นเอง โดยจะนำมาใช้กับหุ่นยนต์ซ่อมบำรุง ที่มีการควบคุมโดยผู้ใช้งานผ่านMIRIAM ซึ่งทาง Total ได้กล่าวว่าหุ่นยนต์ที่นำมาใช้งานนั้นมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

โดยศาสตราจารย์ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย Heriot-Watt ได้ให้ความเห็นว่า การทำงานของ MIRAIM จะเหมือนกับการควบคุมอุปกรณ์อัจฉริยะภายในบ้านด้วย Amazon Alexa นั่นเอง อีกทั้งหุ่นยนต์ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อการใช้งานนี้จะมีความเป็นอิสระ สามารถรับรู้สภาพแวดล้อม และสามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเอง
MIRIAMเป็นความร่วมมือของทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัย Heriot-Watt กับ บริษัท ซอฟต์แวร์ด้านวิศวกรรม Phusion และบริษัท Merkle Aquila ส่วนเงินทุนและการสนับสนุนมาจากสภาวิจัยวิศวกรรมและวิทยาศาสตร์กายภาพของสหราชอาณาจักร และORCA Hub นำโดย Edinburgh Centre for Robotics ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย Heriot-Watt และ มหาวิทยาลัย Edinburgh ที่รวมถึงมหาวิทยาลัย Imperial College London และ Oxford

ทั้งนี้ภารกิจแรกของMIRIAM คือ การสร้างทีมมนุษย์ด้วยหุ่นยนต์ที่เรียกว่า OGRIP โดยย่อมาจาก Offshore Ground Robotics Industrial Pilot ซึ่งเป็นเครื่องจักรที่ได้รับการออกแบบและพัฒนาขึ้นมา เพื่อสนับสนุนการสำรวจและผลิตพลังงานในสภาวะแวดล้อมที่อันตรายและสภาพอากาศที่หนาวจัด นอกจากนี้MIRIAM ยังจะนำมาใช้กับ Husky ที่เป็นหุ่นยนต์ในห้องทดลองหุ่นยนต์ของมหาวิทยาลัย Heriot-Watt อีกด้วยเช่นกัน
โดยทีมนักวิจัยที่ทำงานเกี่ยวกับMIRIAM ได้กล่าวถึงทัศนะคดิของผู้คนที่มีต่อหุ่นยนต์ได้เปลี่ยนไป เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งหุ่นยนต์สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในช่วงเวลาที่เลวร้าย โดยหุ่นยนต์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อดูแลเรื่องสุขภาพนั้นมีขนาดเล็กและมีฟังก์ชั่นการใช้งานที่เป็นมิตรกับผู้ใช้งานมาก ต่างจากหุ่นยนต์ในห้องทดลองที่มีขนาดใหญ่และน่าเกลียด
หากคุณไม่อยากพลาดข่าวคอมพิวเตอร์ และข่าวสารเทคโนโลยีอื่นๆ เช่น ฟินเทค แอพฯทางการเงินเติบโตอย่างมากในช่วงของไวรัสโควิด-19 อย่าลืมติดตามกันได้ที่ mambodocman.com